ภูมิปัญญาท้องถิ่น(การแสดงหนังตะลุง)

ฐานข้อมูลกลุ่มอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

สาขา  ศิลปกรรม
ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น  การแสดงหนังตะลุง
เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น  นายพงศ์พัฒน์ ทองไสย (หนังคิวประภาสศิลป์)
ที่อยู่  98 หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช 80130
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ
          ถ้าให้เล่าถึงเส้นทางอาจจะมีความซับซ้อนมากกว่าจะมาเป็นนายหนัง เพราะตอนเด็ก ๆ ชอบมากกับหนังตะลุง เห็นตัวหนังตะลุงที่ไหนก็ชอบซื้อเก็บไว้ แล้วมาฝึกเล่นกับฝาผนังบ้าน เพราะความชอบ และได้มีโอกาสได้เรียบรู้วิชาการแสดงหนังตะลุงจากหนังตะลุงชั้นอาจารย์ จนมีความสามารถในการแสดงหนังตะลุง สร้างความสุข สร้างความบันเทิงแก่ผู้ชม ด้วยความขยัน มุ่งมั่น และใฝ่เรียนรู้เกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุงตลอดเวลา ทำให้หนังคิวประภาสศิลป์มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จนได้รับรางวัลเกียรติคุณต่าง ๆ จากหลายแห่ง
รายละเอียดของภูมิปัญญา
          การแสดงหนังตะลุง ที่สืบต่อ กันมาช้านาน แม้ว่าปัจจุบัน การเล่นหนังเสื่อมความนิยมของคนดูลงไป แต่ก็ยังมีการเล่นหนังตะลุงอยู่ตามงานเทศกาลต่าง ๆ ศิลปะการเล่นหนังตะลุงคือ การเล่าเรื่อง ผสมผสานกับเงาของรูปหนัง ตะลุงผ่านผ้าขาวบางประกอบดนตรี
องค์ประกอบของหนังตะลุง
          ๑. คณะหนังตะลุง ประกอบด้วยนายหนังและลูกคู่ ประมาณ 9 – 12 คน สมัยก่อนมีผู้ช่วยนายหนังอีก 2 คน ทำหน้าที่จัดรูปหนัง คอยส่งรูปหนังให้นายหนัง และสามารถเล่นแทนนายหนังได้บางตอน               
๒. เครื่องดนตรี ได้แก่ โหม่ง ฉิ่ง กลอง ทับ ปี่ ปัจจุบันมีการใช้เครื่องดนตรีสากลเข้ามาเสริม ทำให้เสียเอกลักษณ์ของหนังตะลุงไป               
๓. จอหนัง ทำด้วยผ้าขาวบางความยาว 8 – 9 ศอก ขอบริมด้วยผ้าสีแดงหรือน้ำเงิน มีเชือกสำหรับผูกรายโดยรอบ               
๔. โรงหนัง ปลูกแบบยกพื้นสูงประมาณ 2 เมตร กว้างประมาณ 3 เมตร มีหลังคาแบบเพิงหมาแหน ไม่นิยมหันหน้าโรงหนังไปทางทิศตะวันตก ไม่ปลูกคล่อมตอ คันนา แอ่งน้ำ จอมปลวก ระหว่างต้นไม้ใหญ่ เขตป่าช้า ถือว่าไม่เป็นมงคล               
๕. รูปหนัง ทำด้วยหนังสัตว์ เช่น หนังวัว หนังควาย หรืออื่น ๆ บ้าง ฉลุระบายสีสวยงาม คณะหนึ่งมีรูปหนัง 100 – 300 ตัว
ขนบนิยมการเล่น หนังตะลุง
๑. พิธีเบิกโรง หนังตะลุงจะนำอุปกรณ์การแสดงทั้งหมดขึ้นทางหน้าโรงหนัง ส่วนผู้แสดงขึ้นทางหลังโรงหนัง มีการตั้งเครื่อง และเบิกรูปหนังจัดให้เป็นระเบียบ เจ้าภาพจัดหมากพลู ธูปเทียนและอื่น ๆ ตามลักษณะของงานให้นายหนัง ทำพิธีเบิกโรง               
๒. การโหมโรง คือการบรรเลงดนตรีก่อนการ แสดง นายหนังเป็นผู้ประเดิมในการโหมโรงโดยการ ตีกลองนำลูกคู่               
๓. การออกลิงหัวค่ำ หนังโบราณ จะออกลิงหัวค่ำ ก่อนฤๅษี ปัจจุบันไม่นิยมอาจมีบ้างในงานแก้บน
๔. ออกฤๅษี ฤๅษีเป็นตัวแทนครูหนัง เมื่อเชิดรูปออก มักปฏิบัติดังนี้ ตั้งนโม 3 จบ ชุมนุมเทวดา ตั้งบทธรณีสาร
๕. ออกโคหรือพระอิศวร เป็นตัวแทนเทพเจ้าแห่งศิลปะการร่ายรำ แสดงถึงการรับเอาวัฒนธรรมอินเดียอย่างชัดเจน               
๖. ออกรูป(อภิ)ปรายหน้าบท เป็นตัวแทนนายหนัง กล่าวไหว้ครู สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ตลอดจนเจ้าภาพและผู้ชม               
๗. บอกเรื่อง มักจะใช้รูปนายขัวญเมื่อง บอกให้ผู้ชมทราบว่าคืนนี้จะแสดงเรื่องอะไร               
๘. ตั้งเมือง เป็นการเปิดเรื่องโดยการเอารูปเจ้าเมืองอัน เป็นเมืองสำคัญของเรื่อง แล้วดำเนินเรื่องต่อไปจนกระทั่งเลิก
รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
          ปี 2558 ได้รับโล่และฉากประกอบการแสดงเพื่อเป็นเกียรติจากศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมเคลื่อนที่ภาคใต้
          ปี 2560 ได้รับฉากประกอบการแสดงหนังตะลุงจากนายสุชาติ เกิดศิริ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งโพธิ์
          ปี 2562 ได้รับฉากประกอบการแสดงหนังตะลุงจาก นายชัยชนะ เดชเดโช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 6 นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์
          ปี 2563 ได้รับประทานรางวัล ญาณสังวร คนดีศรีสยามประจำปี 2563
          ปี 2563 ได้รับรางวัลชนะเลิศ การประชันหนังตะลุงชิงถ้วยประทาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์
          ปี 2565 ได้รับประกาศรางวัลเชิดชูเกียรติคนดีของสังคม เพชรรัตนะ สาขา ปูชนียบุคคลแห่งปีด้านวัฒนธรรม

ดาวน์โหลดไฟล์

ติดต่อสอบถาม อบต.ทุ่งโพธิ์