สภาพและข้อมูลพื้นฐาน  

สภาพทั่วไป

        ตำบลทุ่งโพธิ์ เดิมเป็นชื่อบ้านของหมู่ที่ 3 บ้านทุ่งโพธิ์ ตำบล ควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัด นครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาการตั้งอำเภอ เพื่อเป็นประโยชน์แก่การปกครองและความ
สะดวกของประชาชน โดยได้รับพระราชทานอนุญาตให้ใช้พระนาม ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เป็นชื่ออำเภอ จุฬาภรณ์ ตำบลทุ่งโพธิ์ ได้แยกพื้นที่มาจาก หมู่ที่ 3,4,5,6,7,9 และ10 ของตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช มาเป็นตำบลในหกตำบล ของอำเภอจุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช

ลักษณะภูมิศาสตร์ทางกายภาพ
ที่ตั้งและขนาดอาณาเขต
        เขตพื้นที่ตำบลทุ่งโพธิ์ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอจุฬาภรณ์ ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 5 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 316,968.75 ไร่ หรือโดยประมาณ 51.15 ตารงกิโลเมตร เป็นเนื้อที่ทำการเกษตร 6,466 ไร่ มีอาณาเขตดังนี้
        ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
        ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสามตำบล อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช
        ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลควนเกย อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
        ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

สภาพภูมิศาสตร์
        สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขา เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ด้านทิศตะวันตกเป็นที่ราบสูง และมีภูเขาสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม ด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นที่ราบเชิงเขา มีภูเขาร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด เขตพื้นที่อยู่ในเขตโซนร้อน ได้รับอิทธิพล ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากมหาสมุทรอินเดีย จึงมีช่วงฤดูฝนยาวนาน ระหว่างเดือน มีนาคม เดือนมิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ย 32 องศาเซลเซียส ซึ่งบางครั้งเป็นอุปสรรคในการทำนา

แม่น้ำลำคลอง
        ตำบลทุ่งโพธิ์ ไม่มีลำคลองขนาดใหญ่ โดยทั่วไปเรียกลำน้ำที่มีว่าคลอง ซึ่งในพื้นที่มีคลองสายสำคัญที่ไหลผ่านหมู่บ้าน คือ คลองใหญ่ ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาในบ้านเหนือคลอง หมู่ที่ 7ตำบลทุ่งโพธิ์ ไหลผ่านบ้านไร่ใหญ่ บ้านทุ่งนาใหม่ บ้านอายเลา บ้านต้นโหนด หมู่ที่ 5 และบ้านเขาเตริก หมู่ที่ 3 ต. ทุ่งโพธิ์ เรียกคลองใหญ่ เข้าสู่เขต หมู่ที่ 6 ต.ร่อนพิบูลย์ อ.ร่อนพิบูลย์ เรียกคลองแร่

ภูเขา
        มีเทือกเขาที่สำคัญคือ เทือกเขาบรรทัด ซึ่งเป็นทิวเขาต่อเนื่องจากตำบลสามตำบลมาหมู่ที่ 4 บ้านไสหินตั้ง หมู่ที่ 6 บ้านเตาปูน หมู่ที่ 8 บ้านควนตอ หมู่ที่ 5 บ้านอายเลาและหมู่ที่ 7 บ้านเหนือคลอง นอกจากนั้นยังมี หินกอง-ช่องหมี เขาแก้ว เขาชุมทอง เขาโป้งโล้ง-เขานาไกล เขาหอม-เขาให และภูเขาเล็กๆ อีกหลายแห่ง ทรัพยากรธรรมชาติ

ป่าไม้
        ตำบลทุ่งโพธิ์ มีป่าไม้ที่สำคัญ คือ ป่าเขาชุมทอง ป่าควนขี้แรด ป่าควนนกจาบ ป่าเชิงเขานา ป่าไร่ใหล ป่าวังยวน ฯลฯ

แร่ธาตุ
        แร่ธาตุที่สำคัญของตำบลทุ่งโพธิ์ คือ แร่โดโรไมต์ เป็นแร่ธาตุที่นำเข้าโรงโม่ เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้าง ส่วนแร่ธาตุอื่นๆ เนื่องจากการสำรวจจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่ทันสมัย และ นักธรณีวิทยาที่ชำนาญการทำให้ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ ยังนำมาใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่นัก

ดิน
        สภาพดินทั่วไปของตำบลทุ่งโพธิ์ เป็นดินร่วนปนทราย และดินเหนียว เหมาะแก่การทำสวนยางพารา สวนผลไม้ และการทำนา

สภาพทางเศรษฐกิจ
ด้านการเกษตร
         ทำนา ทำไร่ 728 ครัวเรือน จำนวน 3,445 ไร่
         ทำสวนผลไม้ ไม้ยืนต้น 1,029 ครัวเรือน จำนวน 7,475 ไร่

เลี้ยงสัตว์
         หมู 137 ครัวเรือน จำนวน 6,100 ตัว
         วัว 257 ครัวเรือน จำนวน 1,085 ตัว
         แพะ 14 ครัวเรือน จำนวน 430 ตัว
         ไก่ 1,044 ครัวเรือน จำนวน 16,700 ตัว
         เป็ด 280 ครัวเรือน จำนวน 5,300 ตัว
        ห่าน 4 ครัวเรือน จำนวน 12 ตัว

การประมง
        การทำประมงน้ำจืด 166 ครัวเรือน
        เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 210 ครัวเรือน

อาชีพรับจ้าง
         กรีดยาง 440 ครัวเรือน
        ทำโรงงานอุตสาหกรรม 400 ครัวเรือน
         รับเหมาก่อสร้าง 14 ครัวเรือน
        ซ่อมยานยนต์ 8 ครัวเรือน
ด้านการศึกษา
ตำบลทุ่งโพธิ์มีการจัดการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนและมีการเตรียมความพร้อมให้เด็กก่อนวัยเรียน
      โรงเรียนวัดทุ่งโพธิ์
      โรงเรียนวัดแร่ราษฎร์สุทัศน์
      โรงเรียนบ้านไสหินตั้ง
      โรงเรียนบ้านเหนือคลอง
      โรงเรียนบ้านอายเลา
      ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
      ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
      ห้องสมุดประชาชน จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 บ้านโคกแร่ ต.ทุ่งโพธิ์ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช
      ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 6 แห่ง
      หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน จำนวน 6แห่ง
      ศูนย์ข้อมูลระดับตำบล จำนวน 1 แห่ง
      ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง

ด้านการคมนาคม
การเดินทางโดยรถยนต์มีเส้นทางการคมนาคมสายหลักเป็นถนนลาดยาง 3 สาย
         ถนนทางหลวงแผ่นดิน สาย 41 เป็นถนนที่ตัดผ่าน หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 6 ต.ทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ ระยะทาง 11 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง
         ถนนลาดยางสายสำนักขัน-เหนือคลอง เป็นถนนที่ตัดผ่าน หมู่ที่ 4 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 7 ตำบล ทุ่งโพธิ์ อ.จุฬาภรณ์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง
         ถนนนสายลาดยางสายสวนเลา-วังยวน เป็นถนนที่ตัดผ่าน หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 7 ต.ทุ่งโพธิ์ อ.จุฬาภรณ์ ระยะทาง 7 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมโยธาธิการ
นอกจากนั้นจะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก 6 สาย คือ
         สายบ้านทุ่งโพธิ์ ระยะทาง 574 เมตร
         สายบ้านโคกแร่ ระยะทาง 600 เมตร
         สายศาลาที่อ่านหนังสือพิมพ์-ชายเขาชุมทอง ระยะทาง 1,000 เมตร
         สายเขานา-ศาลาประชุมหมู่บ้าน ระยะทาง 480 เมตร
         สายบ้านนายร่าน-บ้านห้วยแห้ง ระยะทาง 500 เมตร
         สายบ้านเตาปูน ระยะทาง 1,700 เมตร
         – ถนนหินคลุก 1 สาย ระยะทาง 2.90 ก.ม.
         – ถนนหินผุ 49 สาย ระยะทาง 70.23 ก.ม.
เป็นถนนเชิงใช้เป็นเส้นทางติดต่อในหมู่บ้าน ภายในตำบลขนส่งสินค้าการเกษตร

แหล่งท่องเที่ยว
         – 
ศิลาช่องคอย  สถานที่ หมู่ที่ 5  ตำบลทุ่งโพธฺ์  อำเภอจุฬาภรณ์  จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัตถกรรมพื้นบ้าน
         – พัดใบกะพ้อ

ติดต่อสอบถาม อบต.ทุ่งโพธิ์